วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรม 31 ม.ค. - 4 ก.พ. 2554








ตอบ 4 A กับ C A กับ E
อธิบาย.
ทางเคมี สารประกอบไอออนิก (อังกฤษ: Ionic compound) เป็นสารประกอบเคมีที่เกิดจากโลหะ (ที่มีประจุบวก) กับอโลหะ (ที่มีประจุลบ) มารวมกันเป็นสารประกอบ (หรือเรียกว่าเป็นเกลือ) โดยยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไอออนิก ซึ่งสารประกอบไอออนิกจะเป็นสารประกอบที่ไม่มีสูตรเคมี แต่สามารถเขียนสูตรอย่างง่ายได้ เพราะไอออนจะเกาะกันหลายตัว ส่วนใหญ่จะเป็น เกลือกับเบส แต่กรดจะเป็นสารประกอบโควาแลนซ์

ตอบ 3 MgSO4
อธิบาย.NaCl ละลายน้ำดี สารละลายใส ไม่มีสี มีฤทธิ์เป็นกลาง
FeSO4 ละลายน้ำดี สารละลายใส สีเขียว มีฤทธิ์เป็นกรด
CuSO4 ละลายน้ำดี สารละลายใส สีฟ้า มีฤทธิ์เป็นกรด
Na2CO3 ละลายน้ำดี สารละลายใส ไม่มีสี มีฤทธิ์เป็นด่าง
NaHCO3 ละลายน้ำดี สารละลายใส ไม่มีสี มีฤทธิ์เป็นด่าง
MgSO4 ละลายน้ำดี สารละลายใส ไม่มีสี มีฤทธิ์เป็นกลาง
CH3COONa ละลายน้ำดี สารละลายใส ไม่มีสี มีฤทธิ์เป็นด่าง
KAl(SO4)2 ละลายน้ำดี สารละลายใส ไม่มีสี มีฤทธิ์เป็นกรด
NH4Al(SO4)2 ละลายน้ำดี สารละลายใส ไม่มีสี มีฤทธิ์เป็นกรด
Na2B4O7 ละลายน้ำบ้าง สารละลายไม่มีสี มีฤทธิ์เป็นด่าง
H3BO3 ละลายน้ำบ้าง สารละลายไม่มีสี มีฤทธิ์เป็นกรด
Aspirin C6H4(OCOCH3)COOH ไม่ละลายน้ำ มีฤทธิ์กรด
Salicylic Acid C6H4(OH)COOH, ไม่ละลายน้ำ มีฤทธิ์กรด
Tribasic Calcium Phosphate [Ca3(PO4)2]3.Ca(OH)2 ไม่ละลายน้ำ มีฤทธิ์ด่าง
Magnesium Carbonate (MgCO3)4.Mg(OH)2.5H2O ไม่ละลายน้ำ มีฤทธิ์ด่าง
Al(OH)3 ไม่ละลายน้ำ มีฤทธิ์ด่าง






ตอบ 4. มีเวเลนช์อิเล็กตรอนเท่ากกัน

อธิบาย.ธาตุสังเคราะห์ที่ค้นพบแล้วในปัจจุบัน ได้แก่ [1]
* 061 โพรมีเทียม
* 093 เนปจูเนียม
* 094 พลูโทเนียม
* 095 อเมริเซียม
* 096 คูเรียม
* 097 เบอร์คีเลียม
* 098 แคลิฟอร์เนียม
* 099 ไอน์สไตเนียม
* 100 เฟอร์เมียม
* 101 เมนเดลีเวียม
* 102 โนเบเลียม
* 103 ลอเรนเซียม
* 104 รัทเทอร์ฟอร์เดียม
* 105 ดุบเนียม
* 106 ซีบอร์เกียม
* 107 โบห์เรียม
* 108 ฮาสเซียม
* 109 ไมต์เนอเรียม
* 110 ดาร์มสแทดเทียม
* 111 เรินต์เกเนียม

ชื่อที่สงวนไว้สำหรับธาตุสังเคราะห์ที่ค้นพบใหม่ ได้แก่

* 112 อูนอูนเบียม (Ununbium)
* 113 อูนอูนเทรียม (Ununtrium)
* 114 อูนอูนควอเดียม (Ununquadium)
* 115 อูนอูนเพนเทียม (Ununpentium)
* 116 อูนอูนเฮกเซียม (Ununhexium)
* 117 อูนอูนเซปเทียม (Ununseptium) (ยังไม่ค้นพบ)
* 118 อูนอูนออกเทียม (Ununoctium) (ยังไม่ค้นพบ)












ตอบ 2 . 22
B
10

อธิบาย .ไอโซโทป (อังกฤษ: isotope) คืออะตอมต่าง ๆ ของธาตุชนิดเดียวกัน ที่มีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวลต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น ๆ. ไอโซโทปของธาตุต่าง ๆ จะมีสมบัติทางเคมีฟิสิกส์เหมือนกัน ยกเว้นสมบัติทางนิวเคลียร์ที่เกี่ยวกับมวลอะตอม เช่น ยูเรเนียม มี 2 ไอโซโทป คือ ยูเรเนียม-235 เป็นไอโซโทปที่แผ่รังสี และยูเรเนียม-238 เป็นไอโซโทปที่ไม่แผ่รังสี






ตอบ 1 ก ข ค
อธิบาย.ทำปฏิกิริยากับโลหะได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สไฮโดรเจน (H2) เสมอ เช่น
ปฏิกิริยาของโลหะสังกะสีในกรดเกลือ ได้เกลือซิงค์คลอไรด์ (ZnCl2) กับแก๊สไฮโดรเจน



โลหะที่เกิดปฏิกิริยา เช่น สังกะสี (Zn), แมกนีเซียม (Mg), ทองแดง (Cu), เงิน (Ag), อะลูมิเนียม (Al) เป็นต้น
4. ทำปฏิกิริยากับสารประกอบคาร์บอเนต (XCO3; X คือ ธาตุโลหะใดๆ เช่น หินปูน (CaCO3), โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3) หรือผงฟู ได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เสมอ เช่น











ตอบ 4 น้อยกว่า 7 ทำให้เกิดหินงอกและหินย้อย

อธิยาบ .CO2+2H2O <----> H3O+ + HCO3-

CaCO3 + H3O+ <----> Ca2+ + HCO3- + H2O

รวมสมการ(ตัดตัวร่วมทิ้ง) CaCO3+CO2+H2O<---->Ca2++2HCO3-

มันเกิดจากน้ำฝนรวมกับคาร์บอนไดออกไซด์เกิดเป็นกรดคาร์บอนิก(ไม่จำเป็นต้องเป็นกรดคาร์บอนิก กรดอื่นๆก็ได้เหมือนกันนะ) กัดกร่อนภูเขาจนเป็นโพลงดังสมการที่1 ดังนั้นจากการกัดกร่อนภูเขาจึงเกิดถ้ำขึ้นมา (ดูที่สมการรวม)ถ้าวันไหนฝนตก เปรียบเสมือนการเติมน้ำ

ตามหลักการรบกวนสมดุลของเลอซาเตอริแอก็เกิดกรดคาร์บอนิกมากขึ้นทำให้ภูเขาโดนกัดกร่อนมากขึ้นจนเป็โพลงใหญ่ขึ้น จนเกิดถ้ำขึ้นมา หลังจากนั้นถ้าวันไหนพออากาศแห้ง น้ำ กับ คาร์บอนไดออกไซด์ก็จะระเหยออก ตามหลักของเลอซาเตอริแอ มันดึงน้ำกับคาร์บอนไดออกไซด์ ออก เป็นการรบกวนสมดุล ดังนั้นสมดุลก็ย้อนกลับเป็น หินปูน ดังสมการ ดังนั้นมันจึงเกิดหินงอกหินย้อยขึ้นมาไงล่ะ เคยไปเที่ยวในถ้ำไหม? ถ้ำมันจะมีทางเข้าเป็นโพลงๆเข้าไปข้างใน มันเกิดจากกรดกัดกร่อนจนเป็นโพลงๆ(ทางเข้า) แล้วจะพบว่าข้างในจะมีหินงอกหินยอยขึ้นมา เพราะน้ำกับคาร์บอนไดออกไซด์ระเหยออก(วันที่อากาศแห้ง) มันเป็นการรบกวนสมดุล ดังนั้นสมดุลจะตีกลับ เกิดหินงอกหินย้อยขึ้น อธิบายคร่าวๆน่ะ หวังว่าเข้าใจนะ




ตอบ 2 B ผสมกับ C การเกิดปฏิกิริยาดูความร้อน

อธิบาย .
สารละลาย (solution) หมายถึง สารเนื้อเดียวที่ไม่บริสุทธิ์ เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน สารละลายแบ่งส่วนประกอบได้ 2 ส่วนคือ
1. ตัวทำละลาย (solvent) หมายถึง สารที่มีความสามารถ ในการทำให้สารต่างๆ ละลายได้ โดยไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับสารนั้น
2. ตัวละลาย (solute) หมายถึง สารที่ถูกตัวทำละลายละลายให้กระจายออกไปทั่วในตัวทำละลายโดยไม่ทำปฏิกิริยาเคมีต่อกัน
สารละลายมีทั้ง 3 สถานะ คือ สารละลายของแข็ง สารละลายของเหลว และสารละลายแก๊ส
สารละลายของแข็ง หมายถึง สารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นของแข็ง เช่น ทองเหลือง นาก โลหะบัดกรี สัมฤทธิ์ เป็นต้น
สารละลายของเหลว หมายถึง สารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นของเหลว เช่น น้ำเชื่อม น้ำหวาน น้ำเกลือ น้ำปลา น้ำส้มสายชู น้ำอัดลม เป็นต้น
สารละลายแก๊ส หมายถึงสารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นแก๊ส เช่น อากาศ แก๊สหุงต้ม ลูกเหม็นในอากาศ ไอน้ำในอากาศ เป็นต้น
ตัวละลายแต่ละชนิดจะใช้ตัวทำละลายที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างตัวทำละลายและตัวถูกละลาย ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนั้นจะต้องรวมเป็นเนื้อเดียวกันและไม่ทำปฏิกิริยาเคมีต่อกัน








ตอบ 2. ก ข ค

อธิบาย .

การเหม็นหืนของน้ำมันเกิดจากออกซิเจนในอากาศทำปฏิกิริยากับพันธะคู่ระหว่างอะตอมของคาร์บอนในโมเลกุลของกรดไขมัน ได้สารโมเลกุลเล็กๆ ที่ระเหยได้ง่ายและมีกลิ่นเหม็นหืน เช่น ได้แอลดีไฮด์และกรดไขมันโมเลกุลเล็กๆ นอกจากนี้อาจเกิดจากปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสระหว่างไขมันกับน้ำ โดยมีเอนไซม์จากจุลินทรีย์ในอากาศเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้ผลิตภัณฑ์เป็นกรดไขมันโมเลกุลเล็กๆ ที่ระเหยง่าย และมีกลิ่นเหม็น